Quality Control Circle (QCC)
กลุ่มคุณภาพหรือการบริหารโดยการควบคุมคุณภาพ เป็นการค้นหาสาเหตุ และหาจุดอ่อนที่ทำให้เกิดปัญหา แล้วช่วยกันหาแนวทางแก้ไข
ปรับปรุงและวางแผนคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดยใช้กลุ่มย่อยกลุ่มหนึ่งที่ดำเนินงานปรับปรุงคุณภาพในสถานที่ทำงานโดยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ดำเนินงานเป็นทีม ใช้วิธีการและขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
นอกจากนี้ QCC
ยังเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
เพื่อให้เกิดการเคารพความเป็นมนุษย์ซึ่งกันและกันในสถานที่ทำงาน
สร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีชีวิตชีวา
ให้พนักงานได้มีโอกาสแสดงความรู้ความสามารถอย่างไม่มีขีดจำกัด สร้างความเป็นผู้นำ
พัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้น ให้พนักงานมีส่วนร่วมกับผู้บริหารในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงาน
เพื่อยกระดับมาตรฐานการทำงาน ตลอดจนลดความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ QCC
จึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำให้พนักงานเข้าใจว่าการแก้ปัญหาที่กลุ่ม
QCC ได้เลือกขึ้นมาดำเนินการ คือ การแก้ปัญหาในงานประจำ
โดยสร้างมาตรฐานในการทำงาน พัฒนาความรู้และทักษะของพนักงานที่หน้างาน
ให้สามารถสังเกตและวินิจฉัยสาเหตุของปัญหาได้ด้วยตนเอง
ตลอดจนมีจิตสำนึกด้านคุณภาพที่จะสามารถป้องกันปัญหาความผิดพลาด
1.พัฒนาคน
- ผู้บริหารและพนักงานทุกคน มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
- ให้การยอมรับ และเคารพในความเป็นสมาชิกขององค์กร
- ให้โอกาสทุกคนได้แสดงความสามารถของตนเอง
- ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน และยินดีร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
- ผู้บริหารและพนักงานทุกคน มีส่วนร่วมรับผิดชอบ
- ให้การยอมรับ และเคารพในความเป็นสมาชิกขององค์กร
- ให้โอกาสทุกคนได้แสดงความสามารถของตนเอง
- ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน และยินดีร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
2.พัฒนางาน
- ใช้วงจรคุณภาพ PDCA
- ใช้เทคนิคการระดมสมอง ให้เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์
- ใช้เทคนิคการประชุมร่วมกัน
- ใช้เทคนิคการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาทีม
- การรวมกลุ่มที่มีเป้าหมายคุณภาพ
- เป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ในที่เดียวกัน พบปัญหา และมีแนวทางสำเร็จร่วมกัน
- มีความสมัครใจ และร่วมใจทำงานอย่างต่อเนื่อง
- มีระบบการสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ
- มีการจัดวางหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน
- ใช้เทคนิคการประชุมร่วมกัน
- ใช้เทคนิคการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาทีม
- การรวมกลุ่มที่มีเป้าหมายคุณภาพ
- เป็นกลุ่มที่ทำงานอยู่ในที่เดียวกัน พบปัญหา และมีแนวทางสำเร็จร่วมกัน
- มีความสมัครใจ และร่วมใจทำงานอย่างต่อเนื่อง
- มีระบบการสื่อสารระหว่างกันที่มีประสิทธิภาพ
- มีการจัดวางหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน
หลักการของวัฏจักรเดมิ่ง(Deming
Cycle)
ประกอบด้วย 4
ขั้นตอน คือ
1. การวางแผน ( Plan : P )
1. การวางแผน ( Plan : P )
2. การปฏิบัติ ( Do : D )
3. การตรวจสอบ ( Check : C )
4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A )
3. การตรวจสอบ ( Check : C )
4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A )
โครงสร้างในการบริหาร QCC
· กรรมการผู้จัดการ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบาย
QCC
และเป็นผู้สนับสนุนทั้งด้านการเงินและเวลาเพื่อให้เกิด QCC
ทั่วทั้งองค์กร
· คณะกรรมการบริหาร QCC
มีบทบาทในการกำหนดนโยบายหลักและแผนบริหารงาน QCC ระยะยาว และกำหนดแผนการฝึกอบรม QCC นำเสนอผลงาน รวมทั้งรายงานผลการทำงานและปัญหาต่อกรรมการ
ผู้จัดการ
· คณะทำงาน QCC
มีบทบาทในการกำหนดแผนระยะกลางและระยะสั้นในการบริหารงาน QCC ให้สอดคล้องกับแผนระยะยาวของคณะกรรมการบริหาร QCC จัดทำแผนฝึกอบรม
รวมถึงหลักสูตรต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม
· ที่ปรึกษากลุ่ม QCC มีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำกับกลุ่ม
· กลุ่มย่อย QCC มีบทบาทในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่กลุ่มเกี่ยวข้อง
· กลุ่มย่อย QCC มีบทบาทในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่กลุ่มเกี่ยวข้อง
ขั้นตอนของกิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 1
: การกำหนดเป้าหมาย
ต้องระบุเป้าหมายของการควบคุมคุณภาพอย่างชัดเจน
โดยระบุให้ได้ว่า “จะทำอะไร” เป้าหมายที่เป็นรูปธรรมหรือเป็นตัวเลข กำหนดการที่จะให้บรรลุเป้าหมายนั้น
ขั้นตอนที่ 2
: การจัดทำแผน
จัดทำแผนให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
แผนที่จัดทำจะต้องสอดคล้องกับสภาวะที่เป็นอยู่และสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งหมายถึง
จะต้องมีข้อมูลรองรับที่ชัดเจนนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3
: ตรวจสอบ 5W1H
ถ้าแผนขาดสาระที่จำเป็นก็จะเป็นแผนที่ไร้ประโยชน์
และเนื่องจากผู้ที่จะต้องปฏิบัติตามแผนไม่ใช่คนเพียงคนเดียว
แต่ประกอบด้วยผู้คนที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก แผนที่จัดทำขึ้นจึงต้องมีความชัดเจน
รัดกุม ใครอ่านแล้วก็สามารถเข้าใจได้ทันที การตรวจสอบด้วย 5W1H
จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น
การปฏิบัติตามแผนที่จัดทำไว้ (DO)
การปฏิบัติตามแผนที่จัดทำไว้
จะต้องทำความเข้าใจแผน เนื่องจากผู้ที่ต้องดำเนินการตามแผน คือ ผู้ปฏิบัติงานจึงต้องมีการอธิบายแผนให้เป็นที่เข้าใจตรงกันและทั่วถึงกัน
และมีการติดตามการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงาน คือ
ผู้ที่ดำเนินการตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ผู้บริหารหรือผู้จัดการจึงมีหน้าที่ต้องคอยสอดส่อง และติดตามการปฏิบัติงานของทุกคน
และคอยให้คำปรึกษาเมื่อจำเป็น
การตรวจสอบ (CHECK)
ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
โดยตรวจสอบสภาพของดำเนินงาน เป็นการตรวจสอบว่า
การดำเนินงานได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่
การตรวจสอบนี้จะมัวแต่รอให้ผู้ปฏิบัติงานมารายงานไม่ได้
ผู้บริหารจะต้องลงไปตรวจสอบด้วยตนเอง และตรวจสอบคุณภาพของงาน
เป็นการตรวจสอบคุณภาพของการดำเนินงาน (คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือคุณภาพของงานที่ได้)
จะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลว่ามีเหตุผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่
นอกจากนั้นการตรวจสอบคุณภาพของ “ผลงาน” ด้วยตนเอง และการสอบถามผู้ปฏิบัติงานว่าประสบปัญหาอะไรหรือไม่
ก็เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้
การดำเนินการ (Action)
กรณีที่พบว่ามีปัญหา
เมื่อตรวจพบว่าเกิดปัญหาขึ้นในการดำเนินงาน จะต้องตรวจหาสาเหตุของปัญหา
เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเดียวกันเกิดซ้ำอีก และจะต้องทำรายงานสรุปในเรื่องดังกล่าว
เพื่อเป็นข้อมูลยืนยันการดำเนินการแก้ไขแล้ว
กรณีที่ปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
เมื่อปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมาย จะต้องมีการทบทวนว่า “เหตุใดจึงปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ” เพื่อสะสมเป็นประสบการณ์หรือองค์ความรู้ในองค์กร
และในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป ก็ให้ใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้เหล่านี้ให้เป็น
ประโยชน์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้นต่อไป โดยทั่วไป “Action” ในกรณีที่บรรลุเป้าหมาย มักจะถูกมองข้ามเสมอ
ซึ่งทำให้องค์กรขาดการสะสมองค์ความรู้
ประโยชน์ที่ได้รับจาก QCC
1.เพื่อพัฒนาพนักงานหน้างานให้มีความเก่งมากขึ้น
2.สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานของหน่วยงาน
ให้อยากอยู่ อยากทำ อยากคิด
3.พัฒนาทีมงานให้เข้าใจบทบาทตัวเอง
เพื่อการประสานงานกัน ตลอดจนการพัฒนา
4.เพื่อการเป็นหัวหน้างานในอนาคต
เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงาน
5.เพื่อช่วยกำหนดมาตรฐานในการควบคุมงาน
และยกระดับคุณภาพ และมาตรฐานการทำงานของพนักงานให้สูงขึ้น
6.ช่วยให้ได้สินค้าและบริการมีคุณภาพและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
7.ช่วยแบ่งเบาหน้าที่งานจากหัวหน้า
ทำให้หัวหน้ามีเวลาทำงานด้านอื่นเพิ่มขึ้น
8.ช่วยให้ต้นทุนลดลง- คุณภาพสูงขึ้น-
ประสิทธิภาพของงานสูงขึ้น
9.ความรู้ทางเทคนิคสูงขึ้น-
การปรับปรุงงานสูงขึ้น
กิจกรรม QCC
เป็นแนวทางการบริหารให้แก่ผู้บริหาร และเป็นเครื่องมือในการบริหารงานคุณภาพ
โดยมีพนักงานและผู้บริหาร ต่างมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบของการทำงาน
และสร้างองค์ความรู้ให้แก่พนักงานได้เกิดความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงงานได้
เอกสารอ้างอิง
Thailand Industry. (2552). Quality Control Circle
(QCC). สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560, จาก http://thailandindustry.com/indust_newweb/articles_preview.php?cid=8580
Yaovarit. (2556). กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ.
สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=yaovarit&month=07-2013&date=22&group=2&gblog=18
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
(2559).
Quality Control Circle (QCC) กลุ่มคุณภาพ/กลุ่ม QC.
สืบค้นเมื่อ 17
กรกฎาคม 2560, จากhttp://www.tpif.or.th/2012/shindan_d/?page_id=91
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา. (2555).
ระบบ QCC. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560, จาก http://planning.buu.ac.th/content/km/readbook/6.pdf
สุนิสา. (2555).
ความหมายและความสำคัญ QCC. สืบค้นเมื่อ 17
กรกฎาคม 2560, จาก http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=2403&read=true&count=true
สุขุม มั่นคง. (2554).
Quality Control Circle (QCC). สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2560, จาก http://qualitycontrolcircles.blogspot.com/2011/03/qcc.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น